วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่น เป็นการเพิ่มความหมายขึ้น เช่น บอกลักษณะ คุณภาพ
ปริมาณ จำนวน เวลา สถานที่
ตัวอย่าง
คำวิเศษณ์ขยายคำนาม ตึกใหญ่อยู่ปลายเนิน
ผักสดอยู่ในตะกร้า
บ้านสามหลังสีเขียว
คำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม เขาเองบอกกับฉัน
ใครหนอเอาหนังสือไป
คำวิเศษณ์ขยายคำกริยา พี่เดินหน้า น้องเดินหลัง
นกเขาขันเพราะ
โรงเรียนเลิกค่ำ
คำวิเศษณ์ขยายคำวิเศษณ์ ครูอธิบายดีมาก
ในภาษาไทย คำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายคำใด มักมีตำแหน่งตามหลังคำนั้น
ตัวอย่าง
ลงพัดแรง
คนสูงได้เปรียบคนเตี้ย
คนกินจุไม่อ้วนเสมอไป
แต่บางกรณีอาจใช้คำวิเศษณ์มาข้างหน้าคำที่ขยาย
ตัวอย่าง
มากหมอมากความ
น้อยคนนักไม่เห็นแก่ลาภยศ
ทุกวันพระเขาจะพาลูกไปวัด





ข้อควรสังเกต
๑. คำบางคำอาจทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์ และในบางโอกาสทำหน้าที่เป็นคำกริยาสำคัญใน
ประโยค
ตัวอย่าง
วิเศษณ์ กริยา
อย่าซื้อสินค้าแพงเลย ราคาสินค้าแพงขึ้นทุกวัน
พี่ชายเรียนสูงกว่าน้องชายใช่ไหม พี่ชายสูงกว่าน้องชายใช่ไหม
เราควรเชื่อผู้ที่รู้ดีกว่าเรา เราต้องดีต่อผู้ที่รู้น้อยกว่าเรา

๒. คำนามบางคำ อาจทำหน้าที่ขยายคำอื่นได้ ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าคำนามคำนั้น ทำหน้าที่
คำวิเศษณ์
ตัวอย่าง
คนป่าอยู่ในป่า
สัตว์น้ำเป็นอาหารสำคัญของมนุษย์
ลมทะเลมีความชื้นสูง

๓. ในการเรียงคำเข้าประโยคในภาษาไทย ส่วนใหญ่เรามักให้ส่วนขยายตามหลังคำที่ขยาย
ตัวอย่าง
คนป่า สัตว์น้ำ พี่เดินหน้า ครูอธิบายดีมาก

แต่บางคำเราใช้ไว้ข้างหน้าคำที่ขยาย
ตัวอย่าง
เขาเป็นคนสูงศักดิ์
เขาไม่ป่วย
สามสาวเดินทางไปประกวดความงาม
ร้านนี้ขายอาหารเลิศรส
ภาษาไทยเป็นมรดกล้ำค่า
ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย
วันทองเป็นหญิงสองใจจริงหรือ
สี่สหายหัวเราะอย่างร่าเริง

ที่มา : กรมวิชาการ หลักภาษาไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น