วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำนาม

คำนาม คือ คำที่ใช้แทนชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สิ่งมีชีวิต ไม่มีชีวิต นามธรรม รูปธรรม เช่น บ้าน ครู นักเรียน นก ความรักความสามัคคี ฯลฯ
คำนามแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด
๑.   เด็กนั่งอยู่ในโรงเรียน
•    บ้านเป็นที่อยู่ของคน
•    พระอยู่ในวัด
•    ครูเตรียมสอน
•    นักเรียนทำการบ้าน
•    มีวิชาเหมือนมีทรัพย์
๒. คำนามชื่อเฉพาะ (วิสามานยนาม) คือ คำที่ใช้แทนที่เฉพาะของ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เป็นชื่อเฉพาะเจาะจง เช่น
•    โรงเรียนสามโก้วิทยายน เปิดเรียนแล้ว
•    ครูเสถียรสอนวิชาภาษาไทย
•    มะม่วงเขียวเสวยราคาแพงมาก
•    พระครูปัญญาจำพรรษาอยู่ที่วัด
•    สมชายขาดโรงเรียน
•    อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง
๓. นามบอกลักษณะ (ลักษณะนาม) คือ คำนามที่ประกอบนามอื่น เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด หรือปริมาณ เช่น
•    รถยนต์ ๑ คัน
•    บรรทุกผู้โดยสาร ๑๐ คน
•    ต้นไม้ล้ม ๒ ต้น
•    เรือ ๑ ลำ
•    มีพาย ๑ เล่ม
•    พ่อซื้อแหมา ๒ ปาก
•    ตู้เย็น ๑ หลัง
•    ช้าง ๒ เชือก
•    ฟันของน้องขึ้น ๒ ซี่
๔. คำนามหมวดหมู่ (สมุหนาม) คือคำนามที่แสดงหมวดหมู่ กอง หรือคำนามที่รวมกันเป็นหมู่ เช่น
•    คณะครูกำลังประชุม
•    โขลงช้างเดินข้ามภูเขา
•    ฝูงม้าอยู่ในป่า  
•    รัฐบาลบริหารงานไม่ดี
•    บริษัทขอแสดงความยินดีกับพนักกงาน
•    ศาลติดสินโทษประหารนักโทษ
•    กองทหารกำลังรักษาการณ์
•    พวกกรรมกร เดินขบวนขอขึ้นค่าแรง
๕. คำนามบอกอาการ (อาการนาม) คือ คำนามที่บอกความหมายถึงสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีขนาดแต่เราสามารถเข้าใจกันได้โดยมาก จะมีคำว่า “การ” และ “ความ” นำหน้า คำกริยาและวิเศษณ์ เช่น
•    การเดิน            การนอน
•    ความสุข            ความทุกข์
•    การวิ่ง            การกิน
•    ความกตัญญู            ความดี
•    ความรู้            ความรัก
•    ความคิด            ความชั่ว


หน้าที่คำนามในภาษาไทย
คำนามทำหน้าที่ในประโยคดังนี้
๑. คำนามทำหน้าที่ประธานในประโยค ตัวอย่าง
ครูเล่นกีฬา        สมชายดื่มน้ำ   นกบิน    น้องให้อาหารแมว
โรงเรียนประกวดเรียงความ    บริษัทมอบทุนให้พนักงาน
๒. คำนามทำหน้าที่เป็นกรรม ตัวอย่าง
ฉันรู้จักบ้านเธอแล้ว    เขากินขนมหมดแล้ว
เราไปตลาด        เขาตีสุนัข      แมวจับหนู   น้องทำการบ้าน
๓. คำนามทำหน้าที่ขยายนามหรือสรรพนาม   ตัวอย่าง
ป้าพรแม่ค้าส้มตำประกวดนางสาวไทย
สมชาย นายอำเภอขยันทำงาน
เขาคนนั้นจากเราไปแล้ว
เสถียรครูภาษาไทยไม่มาโรงเรียน
๔. คำนามทำหน้าทีขยายคำกริยา  ตัวอย่าง
ตัวอย่าง เขานั่งรถไปทำงานทุกวัน ฉันไปโรงเรียน ตอนเช้า
ตัวอย่าง เขาเป็นครู        ท่านคือพ่อเรา
เราอยู่บ้านทุกวัน        เธอเหมือนแม่มาก    เขาอ่านหนังสือเวลาเช้า
๕.คำนามทำหน้าที่ตามหลังคำบุพบท   ตัวอย่าง
เขาเป็นคนเห็นแก่ตัว   พ่อนอนบนเตียง
๖.คำนามทำหน้าที่เป็นคำเรียกขาน  ตัวอย่าง
คุณครูคะ หนูขออนุญาตไปเข้าห้องน้ำค่ะ   คุณหมอคะ ลูกของดิฉันจะหายป่วยไหมคะ
นายช่างครับ ผมขอลางาน ๓ วันครับ
 ที่มา : ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่๕,๖

ประลองยุทธ
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
๑.ประโยคในข้อใดไม่ได้ใช้วิสามานยนาม
   ก. ถนนสายนี้ยาวมาก
   ข. เกิดน้ำท่วมที่กรุงเทพฯ
   ค. สมชายชอบวิชาการถ่ายภาพมาก
   ง. ฉันไปเที่ยวที่ตลาดสามชุก ๑๐๐ ปี
๒.ข้อใดมีนามเฉพาะ
   ก. แม่ไปเที่ยวทะเล
   ข. พวกเราไปธุระแถวประตูน้ำ
   ค. นักเรียนเข้าแถว

   ง. น้ำฝนเป็นหัวหน้าห้องประถมศึกษาปีที่๕
๓.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะนามเหมือนกัน
   ก.  แก้วน้ำ แจกัน บานประตู
   ข. นาฬิกา กระจก ขวาน
   ค. พวงหรีด พัดลม ลำธาร
   ง. ไฟฉาย ปืน ข้าวหลาม

๔."กระถางแถวแก้วเกคพิกุลแกม ยี่สุ่นแซมมะสังดัดดูไสว"คำในข้อใดไม่ใช่คำนาม
  ก.  แก้ว
  ข.  เกด
  ค.  แซม
   ง. มะสัง

๕.ข้อใดมีลักษณะนาม
  ก. ชาวจีนเดินทางด้วยเรือลำเภา
  ข. คลองสองพี่น้องคดเคี้ยวมาก
  ค. บ้านนี้มีเรือ ๒ ลำ

  ง. รติเดินมาโรงเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น