วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประโยคความรวม

ชนิดของประโยค ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น ๓ ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสาร ได้แก่ ประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน ซึ่งประโยคความเดียวได้กล่าวไว้แล้ววันนี้จะกล่าวถึงประโยคความรวม ดังนี้
     ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้

     ๑.
ประโยคที่มีความคล้อยตามกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไป มีเนื้อความคล้อยตามกันในแง่ของความเป็นอยู่ เวลา และการกระทำ ตัวอย่าง
        • พ่อ
และ แม่ไปทำงาน

        •
ทั้ง อรรดี และ อัชลีเป็นนักเรียนโรงเรียนวัดทองประดิษฐ์

        • พีรพัฒน์เรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา
        •
พอ รติเรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ มาช่วยพ่อค้าขาย สันธานที่ใช้ใน ๔ ประโยค ได้แก่ และ, ทั้ง และ, แล้วก็, พอ แล้วก็
  

หมายเหตุ : คำ แล้วเป็นคำช่วยกริยา มิใช่สันธานโดยตรง

     ๒.
ประโยคที่มีความขัดแย้งกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก ๒ ประโยค มีเนื้อความที่แย้งกันหรือแตกต่างกันในการกระทำ หรือผลที่เกิดขึ้น ตัวอย่าง
        •
พี่ตีฆ้อง แต่ น้องตีตะโพน

        •
ฉันเตือนเขาแล้ว แต่ เขาไม่เชื่อ


     ๓.
ประโยคที่มีความให้เลือก ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก ตัวอย่าง
        • 
เธอจะดื่มน้ำเปล่า หรือ เธอจะดื่มน้ำหวาน

        • คุณชอบดนตรีไทย หรือ ดนตรีสากล     ๔. ประโยคที่มีความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็ก ๒ ประโยค ประโยคแรกเป็นเหตุประโยคหลังเป็นผล ตัวอย่าง
        •
เขามีความเพียรมาก เพราะฉะนั้น เขา จึงประสบความสำเร็จ

        •
คุณมาลีไม่อิจฉาใคร เธอ จึง มีความสุขเสมอ
   

ข้อสังเกต
        •
สันธานเป็นคำเชื่อมที่จำเป็นต้องมีประโยคความรวม และจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อความในประโยค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สันธานเป็นเครื่องกำหนดหรือชี้บ่งว่าประโยคนั้นมีใจความแบบใด

        •
สันธานบางคำประกอบด้วยคำสองคำ หรือสามคำเรียงอยู่ห่างกัน เช่น ฉะนั้น จึง, ทั้ง และ, แต่ ก็ สันธานชนิดนี้เรียกว่า สันธานคาบมักจะมีคำอื่นมาคั่นกลางอยู่จึงต้องสังเกตให้ดี

        •
ประโยคเล็กที่เป็นประโยคความเดียวนั้น เมื่อแยกออกจากประโยคความรวมแล้ว ก็ยังสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจได้
 

ที่มา : คลังความรู้

ประลองยุทธ 
คำชี้แจง ให้นักเรียนแต่งประโยคความรวม ๔ ประโยค
๑.......................................................................................   ๒.......................................................................................
๓.......................................................................................

๔.......................................................................................
    
    


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น