วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำกริยา

คำกริยา หมายถึง คำแสดงอาการ การกระทำ ของนามหรือสรรพนาม เพื่อให้ได้ความเช่นคำว่า กิน เดิน นั่ง นอน เขียน เป็น คล้าย
ชนิดของคำกริยา
๑. อกรรมกริยา
๒. สกรรมกริยา
๓. วิตรรถกริยา
๔. กริยานุเคราะห์
๕. กริยาสภาวมาลา
อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ ก็ได้ความสมบูรณ์เช่น เดิน บิน หาว
เช่น เขา “นอน”
นักเรียน “วิ่ง”
ดอกไม้ “บาน”
ตัวอย่างประโยคที่มี อกรรมกริยา เช่น ไก่ขัน
เรามาว่ายน้ำกันเถอะ
พี่เบิร์ดร้องเพลงเพราะที่สุด
สกรรมกริยา คือ คำกริยา ที่ต้องมีกรรมมารับ เพราะคำกริยานี้ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
เช่น ยุพรัตน์ “ล้าง” จานทุกวันที่ในครัว
ลำดวน “ขาย” ผักที่ตลาดท่าช้าง
หมอกิมรั้ง “ฉีดยา” ให้ฉันเมื่อวานนี้
ตัวอย่าง ฉันส่ง SMS ให้ลูกทุกคืนก่อนนอน
น้ารัตน์ชอบยิงนก
ทำไมแมวต้องกินหนูด้วยคะ
เขาดึงมือเธอไว้
วิตรรถกริยา เช่น ยุพรัตน์ “เป็น” ครูโรงเรียนบ้านหนองบอน   “ใคร ๆ” ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าฉันเก่ง  ลูก “เหมือน” โซ่ทองคล้องใจพ่อกับแม่ 
ตัวอย่าง ฉันเป็นครู                                    
เขาคือพ่อของปิยะ  โทนี่เป็นหมาแต่หน้าตาคล้ายลิง
ลูกเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของพ่อแม่
นั่นเขา เรียนจบมาไม่นาน ได้ เป็นครูไปแล้ว
กระเป๋าใบนี้ คือ ของขวัญวันเกิด
กริยานุเคราะห์ คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่ ช่วยคำกริยาสำคัญในประโยคให้มีความหมายชัดเจนขึ้น เช่น กำลัง เคย จะ ย่อม ได้แล้ว เช่น
พชร “กำลัง” อ่านหนังสือ
พี่ก้อง “ต้อง” ได้รางวัลชนะเลิศแน่เลย
พ่อ “เคย” พาพวกเราไปชลบุรี  
ตัวอย่างประโยคที่ใช้ กริยานุเคราะห์ แม่บ้านจัดเครื่องดื่มเสร็จแล้ว
กริยาสภาวมาลา คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม จะเป็นประธาน กรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้
เช่น การบริจาคโลหิต เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง
นอนให้เพียงพอสุขภาพจะดี
กินยาตามที่หมอสั่ง ก็จะหายจากการป่วยเร็วขึ้น
กระโดดเชือก เป็นกีฬาที่สนุกมาก
ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น