วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภาพ ส.ค.ส. ของพระเจ้าอยู่หัว

รวม ส.ค.ส. พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ธรรมจักร ดอกไม้ 
  ในทุก ๆ เทศกาลปีใหม่ เราทุกคนมักจะมอบความสุข ของขวัญ รวมไปถึงคำอวยพรดี ๆ ให้กับคนที่เรารัก แต่สำหรับชาวไทยทุกคน คงไม่มีของขวัญ หรือคำอวยพรใดที่ยิ่งใหญ่กว่า "พรที่ได้รับจากในหลวง" หรือ ส.ค.ส.พระราชทาน จากในหลวง และถือว่า ปวงชนชาวไทยนั้นโชคดีเป็นอย่างมาก ที่พระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่ง ได้มอบบัตรส่งความสุข หรือ ส.ค.ส. พระราชทานให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่คนไทยทุกปีมาโดยตลอด
     
 ที่มา : สนุกพีเดีย
ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2555


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2554


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2553



ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2552

 
ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2551



ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2550


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2549

ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2547


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2546



ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2545


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2544


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2543


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2542


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2541



ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2540


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2539


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2538


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2537


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2536


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2535


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2534


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2533


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2532



ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2531


ส.ค.ส. พระราชทาน ปี พ.ศ. 2530
 

คำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่น เป็นการเพิ่มความหมายขึ้น เช่น บอกลักษณะ คุณภาพ
ปริมาณ จำนวน เวลา สถานที่
ตัวอย่าง
คำวิเศษณ์ขยายคำนาม ตึกใหญ่อยู่ปลายเนิน
ผักสดอยู่ในตะกร้า
บ้านสามหลังสีเขียว
คำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม เขาเองบอกกับฉัน
ใครหนอเอาหนังสือไป
คำวิเศษณ์ขยายคำกริยา พี่เดินหน้า น้องเดินหลัง
นกเขาขันเพราะ
โรงเรียนเลิกค่ำ
คำวิเศษณ์ขยายคำวิเศษณ์ ครูอธิบายดีมาก
ในภาษาไทย คำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายคำใด มักมีตำแหน่งตามหลังคำนั้น
ตัวอย่าง
ลงพัดแรง
คนสูงได้เปรียบคนเตี้ย
คนกินจุไม่อ้วนเสมอไป
แต่บางกรณีอาจใช้คำวิเศษณ์มาข้างหน้าคำที่ขยาย
ตัวอย่าง
มากหมอมากความ
น้อยคนนักไม่เห็นแก่ลาภยศ
ทุกวันพระเขาจะพาลูกไปวัด





ข้อควรสังเกต
๑. คำบางคำอาจทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์ และในบางโอกาสทำหน้าที่เป็นคำกริยาสำคัญใน
ประโยค
ตัวอย่าง
วิเศษณ์ กริยา
อย่าซื้อสินค้าแพงเลย ราคาสินค้าแพงขึ้นทุกวัน
พี่ชายเรียนสูงกว่าน้องชายใช่ไหม พี่ชายสูงกว่าน้องชายใช่ไหม
เราควรเชื่อผู้ที่รู้ดีกว่าเรา เราต้องดีต่อผู้ที่รู้น้อยกว่าเรา

๒. คำนามบางคำ อาจทำหน้าที่ขยายคำอื่นได้ ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าคำนามคำนั้น ทำหน้าที่
คำวิเศษณ์
ตัวอย่าง
คนป่าอยู่ในป่า
สัตว์น้ำเป็นอาหารสำคัญของมนุษย์
ลมทะเลมีความชื้นสูง

๓. ในการเรียงคำเข้าประโยคในภาษาไทย ส่วนใหญ่เรามักให้ส่วนขยายตามหลังคำที่ขยาย
ตัวอย่าง
คนป่า สัตว์น้ำ พี่เดินหน้า ครูอธิบายดีมาก

แต่บางคำเราใช้ไว้ข้างหน้าคำที่ขยาย
ตัวอย่าง
เขาเป็นคนสูงศักดิ์
เขาไม่ป่วย
สามสาวเดินทางไปประกวดความงาม
ร้านนี้ขายอาหารเลิศรส
ภาษาไทยเป็นมรดกล้ำค่า
ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย
วันทองเป็นหญิงสองใจจริงหรือ
สี่สหายหัวเราะอย่างร่าเริง

ที่มา : กรมวิชาการ หลักภาษาไทย

คำอุทาน

  คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด มักจะเป็นคำที่ไม่มีความหมาย แต่เน้นความรู้สึก และอารมณ์ของผู้พูด
เสียงที่เปล่งออกมาเป็นคำอุทานนี้ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ
  1. เป็นคำ เช่น โอ๊ย ว้าย แหม โถ เป็นต้น
  2. เป็นวลี เช่น พุทโธ่เอ๋ย คุณพระช่วย ตายละว้า เป็นต้น
  3. เป็นประโยค เช่น ไฟไหมเจ้าข้า ป้าถูกรถชน เป็นต้น
        คำอุทานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
         1. อุทานบอกอาการ ใช้เปล่งเสียงเพื่อบอกอาการและความรู้สึกต่าง ๆ ของผู้พูด อุทานบอกอาการ อาจจะอุทานแสดงความเข้าใจ ตกใจ โกรท เจ็บ ตื่นเต้น สงสัย เช่น อ๋อ วุ้ย ต๊ายตาย ไฮ้ เช่น อุ๊ย เจ็บจริง
        คำอุทานบอกอาการนี้ รวมทั้งที่แทรกอยู่ในคำประพันธ์ต่าง ๆ โดยมากก็เป็นคำสร้อย เช่น เฮย แฮ เอย นอ ร้องเรียก หรือบอกเพื่อให้รู้สึกตัว เช่น แน่น เฮ้ โว้ย เป็นต้น ตัวอย่างของอุทานบอกอาการ
โกรธเคือง เช่น ชิชะ ดูดู๋ เป็นต้น
ตกใจ เช่น ตายจริง ว้าย เป็นต้น
สงสาร เช่น อนิจจา โถ เป็นต้น
โล่งใจ เช่น เฮ้อ เฮอ เป็นต้น
ขุ่นเคือง เช่น อุวะ แล้วกัน เป็นต้น
ทักท้วง เช่น ฮ้า ไฮ้ เป็นต้น
เยาะเย้ย เช่น หนอย ชะ เป็นต้น
ประหม่า เช่น เอ้อ อ้า เป็นต้น
ชักชวน เช่น นะ น่า เป็นต้น
         2. อุทานเสริมบท คือ คำพูดเสริมขึ้นมาโดยไม่มีความหมาย อาจอยู่หน้าคำ หลังคำหรือแทรกกลางคำ เพื่อเน้นความหมาย ของคำที่จะพูดให้ชัดเจนขึ้น เป็นคำที่เพิ่มเข้ามาโดยไม่ได้ตั้งใจให้ความเพิ่มมาแต่อย่างใด
         เช่น แขนแมน เสื่อสาด โต๊ะเต๊อะ จานเจิน ไม่รู้ไม่ชี้ พระสงฆ์องค์เจ้า โรงร่ำโรงเรียน ร้องห่มร้องไห้ เป็นต้น
ตัวอย่างของอุทานเสริมบท เช่น
อาบน้ำอาบท่า ลืมหูลืมตา กินน้ำกินท่า
ถ้าเนื้อความมีความหมายในทางเดียวกัน เช่น ไม่ดูไม่แล ร้องรำทำเพลง เราเรียกคำเหล่านี้ว่า คำซ้อน
ที่มา : กรมวิชาการ หลักภาษาไทย

คำสันธาน

     คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค ข้อความกับข้อความ เพื่อแสดงความคล้อยตาม ความขัดแย้งเหตุผล หรือเชื่อมความให้สละสลวย หน้าที่ของคำสันธาน
      ๑.   เชื่อมคำกับคำ
    • ผักกาดและหัวหอมเป็นพืชสวนครัว
    • เธอชอบสีแดงหรือสีส้ม
      ๒.    เชื่อมข้อความกับข้อความ
    • การส่งเสียงดังในห้องสมุดเป็นการกระทำที่ไม่ดีรบกวนผู้อื่นเพราะฉะนั้นจึงต้องมีกฎห้ามส่งเสียงดังติดประกาศไว้
    • คนเราต้องการอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องประกอบอาชีพเพื่อให้ได้เงินมาซื้อสิ่งจำเป็นเหล่านี้
      ๓.    เชื่อมประโยคกับประโยค
    • พี่เป็นคนขยันแต่น้องเกียจคร้านมาก
    • เราหวงแหนแผ่นดินไทยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเรา
      ๔.    เชื่อมความให้สละสลวย
    • คนเราก็ต้องมีผิดพลาดกันบ้างเป็นธรรมดา
    • ฉันก็เป็นคนจริงคนหนึ่งเหมือนกัน
ชนิดของคำสันธาน
      ๑. เชื่อมใจความที่คล้อยตามกัน ได้แก่คำว่า กับ , และ , ทั้งและ ,ทั้งก็ , ครั้นจึง , พอก็ ฯลฯ
    • ภราดรและแทมมี่เป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ
    • พอพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าฝูงนกก็บินกลับรัง
    • ภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งผู้กำกับและนักแสดงได้รับค่าตอบแทนสูง
      ๒.     เชื่อมใจความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่คำว่า จึง , ครั้นจึง , พอก็ ฯลฯ
    • พอเขากล่าวปาฐกถาทุกคนก็ตั้งใจฟัง
    • ป่าไม้หมดไปโลกจึงเกิดความแห้งแล้ง
    • เขาพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง เนื่องจากฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ
      ๓.   เชื่อมใจความที่ขัดแย้งกัน ได้แก่คำว่า แต่ , ถึงก็ , กว่าก็ , แต่ทว่า , แม้ก็ ฯลฯ
    • สังคมมุ่งพัฒนาด้านวัตถุแต่ด้านจิตใจขาดการสนใจ
    • ถึงฉันจะลำบาก ฉันก็ไม่ยอมทำชั่วเป็นอันขาด
    • แม้เขาจะมีร่างกายไม่แข็งแรง เขาก็มีจิตใจแข็งแกร่ง
     ๔.    เชื่อมใจความที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่คำว่า หรือ , หรือไม่ก็ , ไม่เช่นนั้น , มิฉะนั้นก็ , ไม่ก็ ฯลฯ
    • โรงเรียนในเมืองหรือในชนบทต้องการอาจารย์ผู้มีความรู้
    • ง่วงก็นอนเสียหรือไม่ก็ลุกขึ้นไปล้างหน้า
    • ไม่วันเสาร์ก็วันอาทิตย์เจนจะมาบ้านเรา
ข้อสังเกต
      ๑.   คำสันธานบางคำใช้เข้าคู่กัน เช่น ไม่ก็ , กว่าก็ , เพราะจึง , ถึงก็ , แม้ก็ เป็นต้น
     ๒.    คำสันธานอาจอยู่ในตำแหน่งต่างๆในประโยคก็ได้ เช่น
    • อยู่ระหว่างคำ : อีฟชอบสีม่วงและสีขาว
    • อยู่หลังคำ : คนก็ดี สัตว์ก็ดี รักชีวิตด้วยกันทั้งนั้น
    • อยู่คร่อมคำ : ถึงเป็นเพื่อนก็อย่าวางใจ
    • อยู่ระหว่างประโยค : ตูนจะดื่มน้ำส้มหรือดื่มนม
    • อยู่หลังประโยค : เราจะทำบุญก็ตาม บาปก็ตาม ควรคิดถึงผลกรรม
    • อยู่คร่อมประโยค : แม้เต้จะกินมากแต่เต้ก็ไม่อ้วน
      ๓.    ประโยคที่มีคำสันธานนั้นจะแยกออกเป็นประโยคย่อยได้ตั้งแต่ ประโยคขึ้นไป
      ๔.    คำบางคำเป็นได้ทั้งคำสันธานและคำบุพบท เช่น คำว่า เมื่อให้พิจารณาว่าถ้าสามารถแยกเป็น ๒ ประโยคได้ก็เป็นคำสันธาน เช่น เมื่อ ๑๖ นาฬิกา อาร์ทได้ออกจากโรงเรียนไปแล้ว” ( เป็นคำบุพบท ) เมื่อเราได้ยินเสียงระฆัง หมวยได้ออกจากโรงเรียนไปแล้ว” ( เป็นคำสันธาน )
เป็นต้น
      ๕.    คำว่า ให้เมื่อนำมาใช้เชื่อมประโยคก็จัดเป็นคำสันธาน เช่น เขาทำท่าตลกให้เด็กหยุดร้องไห้เป็นต้น
      ๖.    คำว่า ว่าเมื่อนำมาใช้เชื่อมระหว่างประโยคก็จัดเป็นคำสันธาน เช่น หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีการกวาดล้างพวกมิจฉาชีพครั้งใหญ่เป็นต้น
      ๗.    คำประพันธสรรพนามหรือคำสรรพนามเชื่อมประโยค คือ คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อันจัดเป็นคำสันธานด้วย
    • สตรีผู้มีความงามย่อมเป็นที่สนใจของคนทั่วไป
    • คนที่กำลังเล่นกีตาร์นั่นเป็นพี่ชายของวี
ที่มา:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,http://www.myfirstbrain.com/viewpopup2.aspx?IDs=23124

ประลองยุทธ
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
๑. คำประพันธ์ต่อไปนี้ข้อใดไม่มีคำสันธาน
     ก. สินสมุทรสุดจะคิดถึงบิตุเรศ
     ข.  ไม่สังเกตกลศึกให้นึกขาม
     ค. จะว่าใครขัดข้องก็ตรองดู
     ง.  ก็เขินขวยเพราะไม่เคยเชยถนอน
๒. สำนวนไทยข้อใดมีคำสันธาน
     ก. ถี่ลอดตาช้างห่างลอดตาเล็น
     ข. น้ำตาลใกล้มดใครจะอดได้
     ค. พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น
    ง. น้ำขุ่นไว้ในน้ำใสไว้นอก
3. สำนวนใดเป็นประโยคความเดียว
    ก. ได้แกงเทน้ำพริก
    ข. ตีป่าให้เสือกลัว
    ค. ทำคุณบูชาโทษ
    ง. ลูกไก่อยู่ในกำมือ

คำบุพบท

คำบุพบท คือ คำที่ใช้นำหน้าคำหรือกลุ่มคำ คำนาม คำสรรพนาม คำวิเศษณ์ และคำกริยาบางคำ เพื่อบอกหน้าที่และความสัมพันธ์ของคำที่อยู่หลังบุพบทกับข้อความข้างหน้า
คำบุพบทแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ

     ๑.บุพบทที่ไม่เชื่อมกับบทอื่น บุพบทชนิดนี้จะใช้อยู่หน้าคำหรือกลุ่มคำนามและสรรพนาม เพื่อแสดงการทักทาย หรือเป็นคำร้องเรียกเพื่อเกริ่นให้ผู้ฟังรู้สึกตัว คำบุพบทชนิดนี้มีใช้อยู่ในหนังสือรุ่นเก่า เช่น หนังสือเทศน์ หรือวรรณคดี เช่น เรื่องกามนิตก็มีใช้กันมาก แต่ปัจจุบันเกือบไม่มีใครใช้ ตัวอย่างเช่น
         - ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เชิญท่านตามความพอใจเถิด…
         - ดูก่อน อาคันตุกะ ท่านมาถือเพศเป็นผู้ละเคหสถานเพราะเหตุเป็นไฉน
     ๒.บุพบทที่เชื่อมกับบทอื่น ได้แก่ บุพบทที่นำหน้าคำหรือกลุ่มคำนาม สรรพนาม วิเศษณ์ และกริยาบางคำเพื่อบอกความสัมพันธ์ระหว่างคำที่อยู่หลังบุพบทกับความข้างหน้า คำบุพบทชนิดนี้แบ่งเป็นชนิดย่อยๆ ดังนี้
           ๒.๑ บุพบทนำหน้ากรรม ได้แก่คำ แก่ ซึ่ง เฉพาะ เช่น
                 - เสื้อตัวนี้ฉันถักให้เฉพาะเธอ
                 - คุณครูให้รางวัลแก่นักแสดงรุ่นเยาว์
                 - จงให้อภัยซึ่งกันและกัน
           ๒.๒ บุพบทนำหน้าบทเพื่อบอกความเป็นเจ้าของ ได้แก่ ของ แห่ง เช่น
                 - สมุดของฉันหาย
                 - พนักงานของบริษัทนี้ทำงานเข้มแข็ง
                 - สถาบันอุดมศึกษาแห่งชาติเป็นของรัฐบาล
           ๒.๓ บุพบทนำหน้าบทเพื่อแสดงความเป็นผู้รับ ได้แก่ แก่ แด่ ต่อ เพื่อ สำหรับ เช่น
                 - ที่นั่งสำหรับผู้สูบบุหรี่ไม่มีคนนั่งเลย
                 - เขาแถลงข่าวต่อผู้สื่อข่าวในทำเนียบรัฐบาล
                 - เราทำดีเพื่อความก้าวหน้าของตัวเราเอง
           ๒.๔ บุพบทนำหน้าบทเพื่อบอกลักษณะ เป็นเครื่องใช้ หรือติดต่อกัน ได้แก่ ด้วย โดย ตาม เฉพาะ เช่น
                - เขากระโดดลงจากรถโดยเร็ว
                - เธอทำดอกไม้ด้วยผ้ากำมะหยี่
                - เขาได้ดีเพราะเธอ
           ๒.๕ บุพบทนำหน้าบทเพื่อบอกเวลา ได้แก่ กระทั่ง จน จนกระทั่ง เมื่อภายใน ใน ณ แต่ ตั้งแต่ ฯลฯ เช่น
               - เขาทำงานตั้งแต่เช้าจนค่ำ
               - คุณครูให้ส่งการบ้านภายในวันนี้
               - ฝนตกหนักมากเมื่อวันเสาร์ที่แล้ว
           ๒.๖ บุพบทนำหน้าบทเพื่อบอกสถานที่ ได้แก่ ที่ ใต้ บน เหนือ ใกล้ ไกล ริม ข้าง ฯลฯ เช่น
               - คุณพ่อรับราชการที่จังหวัดตรัง
               - เธอชอบนั่งริมหน้าต่าง
               - เครื่องบินบินอยู่เหนือน่านฟ้าไทย
           ๒.๗ บุพบทนำหน้าบทเพื่อบอกประมาณ ได้แก่ เกือบ ตลอด ราว สัก ชั่ว เช่น
               - งานนี้เขาทำชั่วปิดภาคเรียนเท่านั้น
               - เธอทำงานวันละเกือบ 12 ชั่วโมง
               - คุณพ่อเพิ่งออกจากบ้านไปราวครึ่งชั่วโมงนี้เอง
               - ใครสักคนมาช่วยครูลบกระดานหน่อย
ข้อสังเกต
     ๑. คำบุพบทต่างจากคำวิเศษณ์ตรงที่คำบุพบทสามารถอยู่ท้ายข้อความหรือท้ายประโยคได้ แต่บุพบทต้องอยู่หน้าคำหรือกลุ่มคำ เช่น
              - บ้านของเขาอยู่ใกล้มาก (วิเศษณ์ ขยาย อยู่)
    ๒.คำบุพบทที่นำหน้าคำกริยา มักเป็นกริยาสภาวมาลา คือกริยาที่ละ “การ” ไว้ เช่น
              - เขามีชีวิตเพื่อทำงาน (การทำงาน)
              - จงกินเพื่ออยู่ แต่อย่าอยู่เพื่อกิน (การอยู่ – การกิน)
   ๓.ส่วนที่อยู่หลังบุพบทต้องเป็นคำหรือกลุ่มคำเท่านั้น จะเป็นประโยคไม่ได้
หน้าที่ของคำบุพบท
     คำบุพบทมีหน้าที่นำหน้าคำหรือกลุ่มคำต่อไปนี
     ๑.นำหน้าคำหรือกลุ่มคำนาม เช่น
         - แม่ถนอมได้รับจดหมายจากนายเสริมพี่ชาย
         - อ้ายเสริม เอ็งกะข้ามาสู้กันด้วยเกียรติยศของผู้ชาย
         - จงทำดีเพื่อความดี
     ๒.นำหน้าคำหรือกลุ่มคำสรรพนาม เช่น
         - ขอพรนี้จงสัมฤทธิ์ผลแด่ท่านผู้เจริญ
         - ฉันต้องมาที่นี่ทุกวันเสาร์
         - เขาแต่งกลอนบทนี้มอบให้แก่เธอ
     ๓.นำหน้าคำหรือกลุ่มคำวิเศษณ์ เช่น
         - การสื่อสารสมัยนี้ทำได้โดยสะดวกรวดเร็ว
         - เธอต้องให้การต่อศาลไปตามจริง
     ๔.นำหน้าคำกริยาสภาวมาลา เช่น
         - เขาวิ่งเพื่ออกกำลังกาย (ละ “การ” หน้ากริยา)
         - เขาเป็นมะเร็งเพราะสูบบุหรี่จัด (ละ “การ” หน้ากริยา สูบบุหรี่)
ข้อสังเกต
     ๑.การพิจารณาคำบุพบทต้องดูหน้าที่ของคำเป็นหลัก เพราะคำต่างชนิดกันจะทำหน้าที่ต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น
        - เขาเป็นคนแก่ (วิเศษณ์)
        - เขาให้เงินแก่คนขอทาน (บุพบท)
        - คุณลุงแก่มากแล้ว (กริยา)
        - เขาให้ความเป็นกันเองแก่แขกผู้มาเยี่ยมเยียน (สันธาน)
     ๒.คำ “ที่” จะเป็นคำบุพบทเมื่อนำหน้าคำนามหรือสรรพนาม แต่ถ้าทำหน้าที่แทนนามข้างหน้าจะเป็นคำสรรพนามเชื่อมประโยค ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนคำสันธาน เช่น
        - แม่ไปซื้อของที่ตลาด (บุพบท)
        - แมวที่โรงเรียนชื่อเจ้าน้ำหวาน (บุพบท)
        - คนที่ซื้อขนมหน้าโรงเรียนต้องถูกลงโทษ (สันธาน)
        - ฉันให้เสื้อผ้าแก่นักเรียนที่บ้านถูกไฟไหม้ (สันธาน)
ที่มา : http://www.tlcthai.com/education/knowledge-online/15343.html

คำกริยา

คำกริยา หมายถึง คำแสดงอาการ การกระทำ ของนามหรือสรรพนาม เพื่อให้ได้ความเช่นคำว่า กิน เดิน นั่ง นอน เขียน เป็น คล้าย
ชนิดของคำกริยา
๑. อกรรมกริยา
๒. สกรรมกริยา
๓. วิตรรถกริยา
๔. กริยานุเคราะห์
๕. กริยาสภาวมาลา
อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ ก็ได้ความสมบูรณ์เช่น เดิน บิน หาว
เช่น เขา “นอน”
นักเรียน “วิ่ง”
ดอกไม้ “บาน”
ตัวอย่างประโยคที่มี อกรรมกริยา เช่น ไก่ขัน
เรามาว่ายน้ำกันเถอะ
พี่เบิร์ดร้องเพลงเพราะที่สุด
สกรรมกริยา คือ คำกริยา ที่ต้องมีกรรมมารับ เพราะคำกริยานี้ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
เช่น ยุพรัตน์ “ล้าง” จานทุกวันที่ในครัว
ลำดวน “ขาย” ผักที่ตลาดท่าช้าง
หมอกิมรั้ง “ฉีดยา” ให้ฉันเมื่อวานนี้
ตัวอย่าง ฉันส่ง SMS ให้ลูกทุกคืนก่อนนอน
น้ารัตน์ชอบยิงนก
ทำไมแมวต้องกินหนูด้วยคะ
เขาดึงมือเธอไว้
วิตรรถกริยา เช่น ยุพรัตน์ “เป็น” ครูโรงเรียนบ้านหนองบอน   “ใคร ๆ” ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าฉันเก่ง  ลูก “เหมือน” โซ่ทองคล้องใจพ่อกับแม่ 
ตัวอย่าง ฉันเป็นครู                                    
เขาคือพ่อของปิยะ  โทนี่เป็นหมาแต่หน้าตาคล้ายลิง
ลูกเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของพ่อแม่
นั่นเขา เรียนจบมาไม่นาน ได้ เป็นครูไปแล้ว
กระเป๋าใบนี้ คือ ของขวัญวันเกิด
กริยานุเคราะห์ คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่ ช่วยคำกริยาสำคัญในประโยคให้มีความหมายชัดเจนขึ้น เช่น กำลัง เคย จะ ย่อม ได้แล้ว เช่น
พชร “กำลัง” อ่านหนังสือ
พี่ก้อง “ต้อง” ได้รางวัลชนะเลิศแน่เลย
พ่อ “เคย” พาพวกเราไปชลบุรี  
ตัวอย่างประโยคที่ใช้ กริยานุเคราะห์ แม่บ้านจัดเครื่องดื่มเสร็จแล้ว
กริยาสภาวมาลา คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม จะเป็นประธาน กรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้
เช่น การบริจาคโลหิต เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง
นอนให้เพียงพอสุขภาพจะดี
กินยาตามที่หมอสั่ง ก็จะหายจากการป่วยเร็วขึ้น
กระโดดเชือก เป็นกีฬาที่สนุกมาก
ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันครู

     วันครูใกล้เข้ามาแล้วจึงเสนอประวัติและความเป็นมา ดังนี้
     ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
     ความเป็นมา
     วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่ง สำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครู เพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้ และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการ สั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
ที่มา : http://www.zabzaa.com/event/teacher.htm

คำขวัญวันเด็กปี 2555

          ช่วงนี้เป็นช่วงปลายปี 2554 โรงเรียนมีการเตรียมจัดงานวันเด็ก ซึ่งเด็ก ๆ ต่างก็คิดงานแสดงหน้าเวที และมีการเตรียมฝึกซ้อมกัน อย่างเต็มที่ จึงบอกคำขวัญของวันเด็กปี 2555 นี้คือ
          "สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี"
         คำขวัญวันเด็ก เป็น คำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน          
 พ.ศ.2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม - จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
 พ.ศ.2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ.2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ -  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ.2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ -  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ.2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ -  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
พ.ศ.2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ -  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
พ.ศ.2507 - งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ 
พ.ศ.2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ.2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ.2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ.2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ.2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ.2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ.2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ.2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ.2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ.2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง
พ.ศ.2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
พ.ศ.2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ.2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ.2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ.2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ.2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ.2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ.2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ.2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ.2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ.2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ.2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ.2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ.2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ.2536 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ.2537 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
 พ.ศ.2538 - นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ.2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ.2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ.2541 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ.2542 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ.2543 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ.2544 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ.2545 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ.2546 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี
พ.ศ.2547 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ.2548 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร  - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ.2549 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร  - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ.2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ.2551 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ.2552 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี
พ.ศ.2553 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ.2554 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ
 พ.ศ.2555 - ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - "สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี"
ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/17298

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ธรรมชาติให้อะไรกับเรา



















  ผีเสื้อตัวน้อยน้อย   บินวนลอยบนดอกไม้
สีสันช่างมากมาย      มองคล้ายคล้ายแดนสวรรค์
วันนี้อากาศดี            แต่แล้วมีความแปรผัน
ฝนโปรยผีเสื้อพลัน   ต่างผายผันลับสายตา 
ประลองยุทธ
คำชี้แจง  ให้นักเรียนอ่านแล้วจับแนวคิดนำมาแต่งเป็นนิทานสร้างสรรค์ อย่าลืมตั้งชื่อเรื่องด้วยนะคะ

คิด และคิด

      หมู่บ้านแห่งหนึ่งมีหัวหน้าหมู่บ้านชื่อ นายด้วย เขามีอาชีพเช่นเดียวกับลูกบ้านคือเป็นเกษตรกร และหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่มีการร่วมกันปรึกษาหารือเรื่องการทำการเกษตรอยู่เป็นประจำ เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ นายด้วยจะเป็นคนติดต่อเกษตรอำเภอ หมอดิน หรือแม้แต่ผู้ที่มีความรู้ในการทำการเกษตรมาให้ความรู้ และร่วมกันพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหมู่บ้านแห่งนี้จึงเป็นหมู่บ้านที่เข็มแข็ง ชาวบ้านมีรายได้เป็นที่พอใจ เมื่อว่างจากงานการเกษตรมีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมที่ต่อเนื่องมาจากเกษตร เช่น กลุ่มทำกล้วยตากอบน้ำผึ้ง กลุ่มทอเสื่อ กลุ่มทำปลาร้า-ปลาหมำ กลุ่มสานเปล
     แต่แล้วเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำได้ท่วมพื้นที่ทำการเกษตรของหมู่บ้านนายด้วยจนหมด เนื่องจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ต้นไม้ยืนต้นตาย พืชพันธุ์ที่สะสมไว้ใช้ยามฤดูทำการเกษตรก็ถูกน้ำท่วมจนหมด
     นายด้วงในฐานะผู้นำหมู่บ้านที่ได้ชื่อว่าหมู่บ้านเข็มแข็งจะต้องแก้ปัญหาโดย............................


     ประลองยุทธ
     นักเรียนแต่งต่อซิว่า นายด้วงจะทำอย่างไรในระยะแรก  และในระยะต่อไป เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่กลับมาเหมือนเดิม

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประโยคความซ้อน

    ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค เป็นประโยคปรุงแต่ง  (สังกร แปลว่า ปรุงหรือแต่ง)  คือ ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียว  ๒ ประโยคขึ้นไปซ้อนกันอยู่  โดยมีประโยคหนึ่งเป็นประโยคหลัก เรียกว่า มุขยประโยค  และมีประโยคความเดียวอีกประโยคหนึ่งมาขยายประโยคหลัก เรียกว่า อนุประโยค  ทำหน้าที่ปรุงแต่งส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลักเพื่อให้ได้ใจความชัดเจนดียิ่งขึ้น ทั้งยังทำให้เนื้อความของประโยคสละสลวยยิ่งขึ้นอีกด้วย
ชนิดของประโยคความซ้อน  
แบ่งตามอนุประโยคที่มาขยาย    แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑.  นามานุประโยค
๒.  คุณานุประโยค
๓.  วิเศษณานุประโยค                      
๑)  นามานุประโยค  คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่แทนนาม คือ เป็นประธาน บทกรรม และบทวิกัติการก (คำที่ทำหน้าที่ต่างหรือแทนผู้กระทำที่อยู่ข้างหน้า) ขยายนาม เช่น ตัวอย่างนามานุประโยคที่ยกมาต่อไปนี้ จากหลักภาษาไทยของ กำชัย  ทองหล่อ  นามานุประโยคทำหน้าที่เป็น

      บทประธาน       :    ๑.. เขาพูดเช่นนี้ เป็นการส่อนิสัยชั่ว
                                มุขยประโยค   =   เขาส่อนิสัยชั่ว
                                อนุประโยค     =  เขาพูดเช่นนี้

                              ๒. คนเดินริมถนน มองดูตำรวจ
                                มุขยประโยค   =   คนมองดูตำรวจ
                                อนุประโยค     =   คนเดินริมถนน                                  

       บทกรรม      :      ๑. ฉันเห็น เด็กเรียนหนังสือ
                                มุขยประโยค   =   ฉันเห็นเด็ก
                                อนุประโยค     =  เด็กเรียนหนังสือ

                             ๒. เขาพูดว่า ต้นเงาะงอกขึ้นในกระถาง
                                มุขยประโยค   =   เขาพูด
                                อนุประโยค     =  ต้นเงาะงอกขึ้นในกระถาง

                             ๓. เขาทำให้ฉันกลัวผี
                                มุขยประโยค   =   เขาทำฉัน
                                อนุประโยค     =  ฉันกลัวผี                                  


       บทขยาย
      :      ๑. อาหารสำหรับ นักเรียนเล่นละคร มีอยู่ในห้อง
                                 มุขยประโยค   =   อาหารมีอยู่ในห้อง
                                 อนุประโยค     =  นักเรียนเล่นละคร

                              ๒. การเงินของพ่อค้าขายของชำ ฝืดเคืองมาก
                                 มุขยประโยค   =   การเงินของเขาฝืดเคือง
                                 อนุประโยค     =   พ่อค้าขายของชำ

จากตัวอย่างประโยคที่ยกมานี้ ข้อความตัวพิมพ์หนา เป็นนามานุประโยค
ข้อสังเกต   มีข้อที่สังเกตนามานุประโยคตามตัวอย่างข้างบนนี้ให้ถือว่า คำ  ว่า   ให้   สำหรับ   ของ เป็นบทเชื่อมประโยคที่ตามมา   ข้างหลังเป็น นามานุประโยค ถ้าสกรรมกริยา (กริยาที่ต้องการกรรม) ที่อยู่ข้างหน้าคำ ว่า   ให้   นั้นไม่มีกรรมมารับ ถ้ามีกรรมมารับได้ความสมบูรณ์แล้ว ประโยคที่อยู่หลังคำ ว่า หรือ ให้ นั้นต้องเป็น วิเศษณานุประโยค

      ๒)  คุณานุประโยค  คือ  อนุประโยคที่ทำหน้าที่แทนบทวิเศษณ์ เพื่อประกอบนาม สรรพนาม ในมุขยประโยค โดยมีประพันธสรรพนาม ที่ ซึ่ง อัน เป็นบทเชื่อม เช่น
- คนที่ไม่จ่ายทรัพย์ตามสมควร ย่อมเหมือนฝังทรัพย์ทิ้งจมดิน
- แก้วกระจกซึ่งรวมอยู่กับสุวรรณ ย่อมเลื่อมพรายเหมือนมรกต
- บุคคลอันมีจิตสงบแล้ว มีสุขในโลก
ข้อสังเกต    ประโยคที่ตามหลังประพันธสรรพนาม (ที่   ซึ่ง   อัน)  จะเป็นอนุประโยค  แต่ถ้า  ที่   ซึ่ง  อัน  ตามหลังประพันธวิเศษณ์  ประโยคความซ้อนนั้นจะเป็นวิเศษณานุประโยค

      ๓)  วิเศษณานุประโยค  คือ  อนุประโยคซึ่งทำหน้าที่เป็นวิเศษณ์สำหรับขยายกริยา หรือขยายวิเศษณ์ อันเป็นส่วนหนึ่งของมุขยประโยค เช่น
- เขามาหา เมื่อฉันไม่อยู่  (ขยายกริยา มา)          
- เขาดีจนฉันเกรงใจ  (ขยายกริยา ดี)
- หมองูตายเพราะงูกัด  (ขยายกริยา ตาย)           
- เขาพูดช้าจนฉันรำคาญ  (ขยายวิเศษณ์ช้า)

ที่มา : http://www.npwebsite.com/nalinee/exam_online/content1.html

ประลองยุทธ 
คำชี้แจง ให้นักเรียนแต่งประโยคความซ้อน ๓ ประโยค
๑.......................................................................................   ๒.......................................................................................
๓.......................................................................................
    

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำสรรพนาม

       คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนนามในประโยคสื่อสาร เราใช้คำสรรพนามเพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำ ๆ
หน้าที่ของคำสรรพนาม
         ๑. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น ใครมา แกมาจากไหน นั่นของฉันนะ เป็นต้น
         ๒. ทำหน้าที่เป็น กรรม ของประโยค เช่น เธอดูนี่สิ สวยไหม เป็นต้น
         ๓. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม เช่น เสื้อของฉันคือนี่ สีฟ้าใสเห็นไหม เป็นต้น
         ๔. ทำหน้าที่ตามหลัง บุพบท เช่น เธอเรียนที่ไหน เป็นต้น
         คำสรรพนาม คือคำที่ใช้แทนคำนาม แบ่งเป็น ๖ ชนิดคือ
         ๑. บุรุษสรรพนาม
         ๒. ประพันธสรรพนาม
         ๓. นิยมสรรพนาม
         ๔. อนิยมสรรพนาม
         ๕. ปฤจฉาสรรพนาม
         ๖. วิภาคสรรพนาม

         ๑. สรรพนามที่ใช้ในการพูด (บุรุษสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้ในการพูดจา สื่อสารกัน ระหว่างผู้ส่งสาร (ผู้พูด) ผู้รับสาร (ผู้ฟัง) และผู้ที่เรากล่าวถึง มี ๓ ชนิด ดังนี้
         สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้แทนผู้ส่งสาร (ผู้พูด) เช่น ฉัน ดิฉัน ผม ข้าพเจ้า เรา หนู เป็นต้น
         สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้แทนผู้รับสาร (ผู้ที่พูดด้วย) เช่น ท่าน คุณ เธอ แก ใต้เท้า เป็นต้น
         สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เช่น ท่าน เขา มัน เธอ แก เป็นต้น
         ๒. สรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค (ประพันธสรรพนาม) คือ คำสรรพนามนี้ใช้แทนนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าและต้องการจะกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังใช้เชื่อมประโยคสองประโยคเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
บ้าน “ที่” ทาสีขาวเป็นบ้านของเธอ
คน “ที่” ออกกำลังกายอยู่เสมอ ร่างกายมักแข็งแรง
เกาหลีใต้ “ซึ่ง” เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกกำลังมีชื่อเสียง ไปทั่วโลก
ศีล “อัน” พึงปฏิบัติคือศีลห้า
         ๓. สรรพนามชี้เฉพาะ (นิยมสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงที่อยู่ เพื่อระบุให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และกำหนดความให้รู้แน่นอน ได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น โน้น ตัวอย่างเช่น
นี่เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์ในปีนี้
นั่นรถจักรายานยนต์ของเธอ
นี่ เป็นเพื่อนฉัน
นั่น อะไรนะ
โน่น แน่ะของเธอละ
ของเธออยู่ที่ นี้'
         ๔. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง (อนิยมสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามที่กล่าวถึงโดยไม่ต้องการคำตอบ ได้แก่สรรพนามที่แทนสิ่งที่ไม่ทราบและไม่ได้กล่าวในเชิงถามหรือสงสัย ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงลงไป ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด สิ่งใด ใครๆ อะไรๆๆ ใดๆ ตัวอย่างเช่น
ใคร ๆ ก็พูดเช่นนั้น
ใครก็ได้ช่วยชงกาแฟให้หน่อย
ใด ๆ ในโลกล้วนอนิจจัง
ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้
ใคร ขยันก็สอบไล่ได้ เขาเป็นคนที่ไม่สนใจ อะไร
         ๕. สรรพนามที่เป็นคำถาม (ปฤจฉาสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามเป็นการถามที่ต้องการคำตอบ ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ไหน ผู้ใด ตัวอย่างเช่น
ใครหยิบหนังสือบนโต๊ะไป
อะไรวางอยู่บนเก้าอี้
ไหนปากกาของฉัน
ผู้ใดเป็นคนรับโทรศัพท์
ใคร อยู่ที่นั่น
อะไร เสียหายบ้าง
ไหน ล่ะโรงเรียนของเธอ
         ๖. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ (วิภาคสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า เมื่อต้องการเอ่ยซ้ำ โดยที่ไม่ต้องเอ่ยนามนั้นซ้ำอีก และเพื่อแสดงความหมายแยกออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่คำว่า บ้าง ต่าง กัน ตัวอย่างเช่น
นักศึกษาต่างแสดงความคิดเห็น
สตรีกลุ่มนั้นทักทายกัน
นักกีฬาตัวน้อยบ้างก็วิ่งบ้างก็กระโดดด้วยความสนุกสนาน
นักเรียน ต่าง ก็อ่านหนังสือ
เขาตี กัน
นักเรียน บ้าง ก็เรียน บ้าง ก็เล่น

         นอกจากนี้ยังมีสรรพนามที่เน้นตามความรู้สึกของผู้พูด สรรพนามชนิดนี้ใช้หลักคำนามเพื่อบอกความรู้สึกของผู้พูดที่มีต่อบุคคลที่กล่าวถึง ตัวอย่างเช่น
คุณพ่อท่านเป็นคนอารมณ์ดี (บอกความรู้สึกยกย่อง)
คุณจิตติมาเธอเป็นคนอย่างงี้แหละ (บอกความรู้สึกธรรมดา)
ที่มา : คลังปัญญาไทย

ประลองยุทธ
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
๑. ข้อใดเป็นสรรพนามบุรุษที่๒
   ก. ทูลกระหม่อม
   ข. พระองค์ท่าน
   ค. เกล้ากระหม่อม
   ง. ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
๒. คำสรรพนามแบ่งเป็นกี่ชนิด
   ก. ๓ ชนิด
   ข. ๔ ชนิด
   ค. ๕ ชนิด
   ง. ๖ ชนิด
๓. ข้อใดเป็นนิยมสรรพนาม
   ก. ท่านจะไปไหนดี
   ข. นี่หนังสือของฉัน
   ค. เธอทราบอะไรมาบ้าง
   ง. ฉันไม่เห็นใครเลย
๔. ข้อใดเป็นวิภาคสรรพนาม
   ก. สรรพนามที่ไม่เจาะจง
   ข. สรรพนาม
   ค. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ
   ง. สรรพนามใช้เชื่อมประโยค
๕. ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของสรรพนามคืออะไร
   ก. แทนคำนาม
   ข. แทนคำกริยา
   ค. แทนคำอุทาน
   ง. แทนคำสันธาน