วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำสันธาน

     คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค ข้อความกับข้อความ เพื่อแสดงความคล้อยตาม ความขัดแย้งเหตุผล หรือเชื่อมความให้สละสลวย หน้าที่ของคำสันธาน
      ๑.   เชื่อมคำกับคำ
    • ผักกาดและหัวหอมเป็นพืชสวนครัว
    • เธอชอบสีแดงหรือสีส้ม
      ๒.    เชื่อมข้อความกับข้อความ
    • การส่งเสียงดังในห้องสมุดเป็นการกระทำที่ไม่ดีรบกวนผู้อื่นเพราะฉะนั้นจึงต้องมีกฎห้ามส่งเสียงดังติดประกาศไว้
    • คนเราต้องการอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องประกอบอาชีพเพื่อให้ได้เงินมาซื้อสิ่งจำเป็นเหล่านี้
      ๓.    เชื่อมประโยคกับประโยค
    • พี่เป็นคนขยันแต่น้องเกียจคร้านมาก
    • เราหวงแหนแผ่นดินไทยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเรา
      ๔.    เชื่อมความให้สละสลวย
    • คนเราก็ต้องมีผิดพลาดกันบ้างเป็นธรรมดา
    • ฉันก็เป็นคนจริงคนหนึ่งเหมือนกัน
ชนิดของคำสันธาน
      ๑. เชื่อมใจความที่คล้อยตามกัน ได้แก่คำว่า กับ , และ , ทั้งและ ,ทั้งก็ , ครั้นจึง , พอก็ ฯลฯ
    • ภราดรและแทมมี่เป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ
    • พอพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าฝูงนกก็บินกลับรัง
    • ภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งผู้กำกับและนักแสดงได้รับค่าตอบแทนสูง
      ๒.     เชื่อมใจความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน ได้แก่คำว่า จึง , ครั้นจึง , พอก็ ฯลฯ
    • พอเขากล่าวปาฐกถาทุกคนก็ตั้งใจฟัง
    • ป่าไม้หมดไปโลกจึงเกิดความแห้งแล้ง
    • เขาพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง เนื่องจากฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ
      ๓.   เชื่อมใจความที่ขัดแย้งกัน ได้แก่คำว่า แต่ , ถึงก็ , กว่าก็ , แต่ทว่า , แม้ก็ ฯลฯ
    • สังคมมุ่งพัฒนาด้านวัตถุแต่ด้านจิตใจขาดการสนใจ
    • ถึงฉันจะลำบาก ฉันก็ไม่ยอมทำชั่วเป็นอันขาด
    • แม้เขาจะมีร่างกายไม่แข็งแรง เขาก็มีจิตใจแข็งแกร่ง
     ๔.    เชื่อมใจความที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่คำว่า หรือ , หรือไม่ก็ , ไม่เช่นนั้น , มิฉะนั้นก็ , ไม่ก็ ฯลฯ
    • โรงเรียนในเมืองหรือในชนบทต้องการอาจารย์ผู้มีความรู้
    • ง่วงก็นอนเสียหรือไม่ก็ลุกขึ้นไปล้างหน้า
    • ไม่วันเสาร์ก็วันอาทิตย์เจนจะมาบ้านเรา
ข้อสังเกต
      ๑.   คำสันธานบางคำใช้เข้าคู่กัน เช่น ไม่ก็ , กว่าก็ , เพราะจึง , ถึงก็ , แม้ก็ เป็นต้น
     ๒.    คำสันธานอาจอยู่ในตำแหน่งต่างๆในประโยคก็ได้ เช่น
    • อยู่ระหว่างคำ : อีฟชอบสีม่วงและสีขาว
    • อยู่หลังคำ : คนก็ดี สัตว์ก็ดี รักชีวิตด้วยกันทั้งนั้น
    • อยู่คร่อมคำ : ถึงเป็นเพื่อนก็อย่าวางใจ
    • อยู่ระหว่างประโยค : ตูนจะดื่มน้ำส้มหรือดื่มนม
    • อยู่หลังประโยค : เราจะทำบุญก็ตาม บาปก็ตาม ควรคิดถึงผลกรรม
    • อยู่คร่อมประโยค : แม้เต้จะกินมากแต่เต้ก็ไม่อ้วน
      ๓.    ประโยคที่มีคำสันธานนั้นจะแยกออกเป็นประโยคย่อยได้ตั้งแต่ ประโยคขึ้นไป
      ๔.    คำบางคำเป็นได้ทั้งคำสันธานและคำบุพบท เช่น คำว่า เมื่อให้พิจารณาว่าถ้าสามารถแยกเป็น ๒ ประโยคได้ก็เป็นคำสันธาน เช่น เมื่อ ๑๖ นาฬิกา อาร์ทได้ออกจากโรงเรียนไปแล้ว” ( เป็นคำบุพบท ) เมื่อเราได้ยินเสียงระฆัง หมวยได้ออกจากโรงเรียนไปแล้ว” ( เป็นคำสันธาน )
เป็นต้น
      ๕.    คำว่า ให้เมื่อนำมาใช้เชื่อมประโยคก็จัดเป็นคำสันธาน เช่น เขาทำท่าตลกให้เด็กหยุดร้องไห้เป็นต้น
      ๖.    คำว่า ว่าเมื่อนำมาใช้เชื่อมระหว่างประโยคก็จัดเป็นคำสันธาน เช่น หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีการกวาดล้างพวกมิจฉาชีพครั้งใหญ่เป็นต้น
      ๗.    คำประพันธสรรพนามหรือคำสรรพนามเชื่อมประโยค คือ คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อันจัดเป็นคำสันธานด้วย
    • สตรีผู้มีความงามย่อมเป็นที่สนใจของคนทั่วไป
    • คนที่กำลังเล่นกีตาร์นั่นเป็นพี่ชายของวี
ที่มา:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,http://www.myfirstbrain.com/viewpopup2.aspx?IDs=23124

ประลองยุทธ
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
๑. คำประพันธ์ต่อไปนี้ข้อใดไม่มีคำสันธาน
     ก. สินสมุทรสุดจะคิดถึงบิตุเรศ
     ข.  ไม่สังเกตกลศึกให้นึกขาม
     ค. จะว่าใครขัดข้องก็ตรองดู
     ง.  ก็เขินขวยเพราะไม่เคยเชยถนอน
๒. สำนวนไทยข้อใดมีคำสันธาน
     ก. ถี่ลอดตาช้างห่างลอดตาเล็น
     ข. น้ำตาลใกล้มดใครจะอดได้
     ค. พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น
    ง. น้ำขุ่นไว้ในน้ำใสไว้นอก
3. สำนวนใดเป็นประโยคความเดียว
    ก. ได้แกงเทน้ำพริก
    ข. ตีป่าให้เสือกลัว
    ค. ทำคุณบูชาโทษ
    ง. ลูกไก่อยู่ในกำมือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น