วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันนี้ไปถวายสังฆทาน

 
     วันนี้้ไปถวายสังฆทานที่วัดมาเนื่องจากไม่สบายใจ การทำบุญนี่ดีมาก สบายใจที่ได้ไปไหว้พระ มีสมาธิอยู่สักพักรู้สึกสบายใจดีมาก จึงเขียนเรีื่องรววการถวายสังฆทานเผื่อจะได้อานิสงส์ จากการได้บอกเล่าเผยแพร่บ้างไม่มากก็น้อย
     สังฆทาน คือ ทานที่อุทิศแก่พระสงฆ์ มิได้เจาะจงบุคคล การถวายสังฆทานหมายถึงการจัดภัตตาหารถวายพระสงฆ์ไม่เกี่ยวกับการถวายทานวัตถุอื่นๆ ครั้งพุทธกาลปรากฏว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่พระอานนท์ตอนหนึ่งว่า การถวายสังฆทานคือการขอต่อพระสงฆ์ให้ส่งภิกษุไปรับของถวาย ผู้ถวายสังฆทานต้องตั้งใจว่าถวายต่อพระอริยสงฆ์ ไม่ว่าผู้รับจะเป็นภิกษุรูปใดก็ตาม ถือว่าอุทิศถวายเป็นของสงฆ์
วิธีปฏิบัติ          
     เมื่อตั้งใจจะถวายสังฆทาน พึงเตรียมภัตตาหารใส่ภาชนะให้เรียบร้อย จะถวายกี่รูปก็ได้ตามศรัทธา การนิมนต์พระสงฆ์นิยมกัน ๒ วิธี คือ
วิธีแรก
นิมนต์พระที่ออกบิณฑบาตในตอนเช้าผู้มาถึงเฉพาะหน้าในขณะนั้นให้ครบตามจำนวนที่ต้องการ   
วิธีที่สอง
     สถานที่ถวายถ้าเป็นในบ้านควรจัดห้องใดห้องหนึ่งที่เรียบร้อย ถ้ามีพระพุทธรูป ควรตั้งที่บูชาด้วยพอสมควร เมื่อพระสงฆ์ที่นิมนต์โดยวิธีใดวิธีหนึ่งมาพร้อมแล้ว นำภัตตาหารที่จัดเตรียมไว้มาตั้งตรงหน้าพระสงฆ์ อาราธนาศีล แล้วรับศีล ต่อจากนั้นกล่าวนโม ๓ จบ พร้อมกันแล้วจึงกล่าวคำถวายสังฆทาน ถ้าถวายรวมกันหลายคน ให้ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำเป็นวรรคๆ ผู้อื่นกล่าวตามทั้งคำบาลีและคำแปล เมื่อจบคำถวายแล้วภิกษุทั้งนั้นรับ สาธุพร้อมกัน
 คำถวายสังฆทา (ประเภทสามัญ)คำบาลี          
     อิมานิ มยํ ภนเต, สปริวารานิ, สงฆสส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนเต. สงโฆ, อิมานิ , ภตตานิ, สปริวารานิ, ปฎิคคณหาตุ, อมหากํ, ทีฆรตตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
     ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์ จงรับภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ 
คำถวายสังฆทาน (ประเภทมตกภัต อุทิศให้ผู้ตาย)
คำบาลี          
     อิมานิ มยํ ภนเต, มตกภตตานิ, สปริวารานิ, สงฆสส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนเต. สงโฆ, อิมานิ , มตกภตตานิ, สปริวารานิ, ปฎิคคณหาตุ, อมหากญเจว, มาตาปิตุอาทีนญจ ญาตกานํ, กาลกตานํ ทีฆรตตํ, หิตาย, สุขาย. 
คำแปล          
     ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย มตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์ จงรับมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีบิดามารดา เป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงไปแล้วด้วย สิ้นกาลนาน เทอญฯ 
     คำว่า "สังฆทาน" หมายถึงทานที่ถวายโดยเจาะจงเฉพาะสงฆ์ คือถวายแก่สงฆ์ที่เป็นหมู่คณะ มิใช่เจาะจงถวายแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง และสิ่งของที่ใช้ถวายสังฆทานก็มิใช่จะต้องเป็น"ภาชนะหรือถังสีเหลือง" ดังที่คนส่วนใหญ่ซื้อไปถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น สังฆทานนี้ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่าเป็นทานที่มีอานิสงส์มาก.
ลักษณะของทานที่ชื่อว่าเป็นสังฆทาน
ทานที่ได้ชื่อว่าเป็นสังฆทานนั้น จะต้องมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
     ๑. จะต้องไม่เจาะจงตัวภิกษุผู้มารับทาน เช่นไม่ต้องระบุชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่ของภิกษุที่จะให้มารับทาน เพียงแต่ไปติดต่อกับภิกษุหรือผู้ที่มีหน้าที่จัดกิจนิมนต์ แล้วแสดงความประสงค์ว่า ขอให้จัดภิกษุ ๑ รูป ๒ รูป หรือตามจำนวนที่ต้องการ เพื่อให้มารับสังฆทาน
     ๒. ต้องทำความเคารพยำเกรงในสงฆ์ และไม่ทำความดีใจหรือเสียใจให้เกิดขึ้น การทำความยำเกรงในสงฆ์คือ จัดแจงต้อนรับทำการถวายทานด้วยความเคารพ ถือว่าภิกษุนี้เป็นตัวแทนที่สงฆ์แต่งตั้งมา เมื่อได้ภิกษุที่เป็นพระเถระมารับทาน ก็ไม่ทำความดีใจให้เกิดขึ้นว่า เราได้ภิกษุผู้เป็นพระเถระมารับทาน หรือเมื่อได้ภิกษุหนุ่มเพิ่งบวชใหม่ หรือสามเณรเป็นผู้มารับทาน ก็ไม่ทำความเสียใจให้เกิดขึ้น
     ถ้าทำความดีใจหรือเสียใจให้เกิดขึ้น ทานนั้นไม่ชื่อว่า "สังฆทาน" ส่วนบุคคลใด ได้ภิกษุหนุ่มหรือเถระผู้เป็นพาลหรือบัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจากสงฆ์แล้ว ไม่สงสัยติดใจภิกษุรูปนี้เป็นผู้ทรงศีลหรือทุศีล (ถึงแม้ตนจะรู้ว่าภิกษุรูปนี้เป็นผู้ทุศีล) ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายทานแก่สงฆ์โดยผ่านทางตัวแทน(คือภิกษุรูปนี้) ที่สงฆ์จัดมาให้ เช่นนี้ชื่อว่า "สังฆทาน"
     ฉะนั้น การถวายสังฆทานแก่ภิกษุทุศีล แต่ภิกษุนั้นมาในฐานะตัวแทนสงฆ์ที่ผู้ถวายนิมนต์ ถ้าผู้ถวายทานถวายด้วยความศรัทธา ทำความเคารพยำเกรงให้เกิดขึ้นในตัวภิกษุนั้น เสมือนหนึ่งว่าตนเองมีความเคารพยำเกรงในสงฆ์ ไม่ทำความดีใจหรือเสียใจให้เกิดขึ้น ทานนั้นก็นับว่าเป็น"สังฆทาน" ซึ่งเป็นทานที่มีผลไพบูลย์มาก มีอานิสงส์มาก.
การใส่บาตรจัดเป็นสังฆทานหรือไม่?
     การใส่บาตรแก่ภิกษุผู้ออกบิณฑบาตในเวลาเช้า ที่เรานิยมกระทำกันนั้น ถ้าผู้ถวายมีความตั้งใจที่จะถวายแก่สงฆ์ โดยมิได้เจาะจงเลือกใส่แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง และในขณะใส่บาตรก็ไม่ทำความดีใจหรือเสียใจที่ได้ถวายแก่พระเถระหรือสามเณร ทำความเคารพยำเกรงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุที่เราถวายบิณฑบาตนั้น การใส่บาตรนั้นก็จัดว่าเป็น"สังฆทาน"ได้ แม้เราตักข้าวใส่บาตรเพียงทับพีเดียวก็ตาม 


อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการ
๑. ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของชนหมู่มาก
๒. สัปปบุรุษผู้สงบ ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
๓. กิตติศัพย์อันงามของผู้ให้ทาน ย่อมขจรทั่วไป
๔. ผู้ให้ทาน ย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์
๕. ผู้ให้ทาน เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์


     ที่มาข้อมูล  :  เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น